ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอน
ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการ
ของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิด
รวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก
ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี
ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการ
ของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิด
รวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก
ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี
ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจ
แจ่มแจ้ง ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
แจ่มแจ้ง ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้
ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่
คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่
คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างขวางตลอดจนความสามารถ
ของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
ของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติม
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียน และควรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. พิจารณาเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวิธีการสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
8. ดำเนินการวัดผลประเมินผลทุกครั้งที่ทำการสอน ด้วยวิธีต่างๆ ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
แผนการสอนที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
- มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียน
- พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
- มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ
- มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมได้
- ควรมีการกำหนดกิจกรรม และประสบการณ์ควรคำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมกาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
- กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่สอน
- หัวเรื่อง
- ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
- จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การสอน หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- สื่อการเรียนการสอน
- ประเมินผล
- หมายเหตุ
การปรับแผน แผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้โดยทั่วไปหรือทางกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำขึ้น เป็นแผนการสอนกลาง
ที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้น เมื่อนำมาใช้จริงๆ ในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆ
เสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องช่วยกัน
จัดทำขึ้นเพื่อให้กับวัยความต้องการและสภาพแวดล้อม ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนการสอนในที่นี้หมายถึง การที่
ผู้สอนนำแผนการสอนแกนกลางที่มีการจัดทำไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลด เพิ่ม หรือดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม
ที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้น เมื่อนำมาใช้จริงๆ ในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆ
เสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องช่วยกัน
จัดทำขึ้นเพื่อให้กับวัยความต้องการและสภาพแวดล้อม ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนการสอนในที่นี้หมายถึง การที่
ผู้สอนนำแผนการสอนแกนกลางที่มีการจัดทำไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลด เพิ่ม หรือดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนการสอน สามารถปรับได้ตามขอบเขตของการปรับการแผนการสอนดังนี้
1.จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่สามารถประเมินผลหรือวัดผลได้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไป
2.เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เพียงหัวข้อหยาบๆ
ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้เนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
3.กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางการสอน และช่วย
ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐาน และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอน
บางหน่วย ผู้สอนอาจจะดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียน
4.สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบด้วยของจริง ขิงจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆ
ซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการสอนประเภทอื่นๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
5.การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ นั้นได้กำพหนดวิธีการประเมินไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถ
เลือกมาแนะนำปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน
1.จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่สามารถประเมินผลหรือวัดผลได้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไป
2.เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เพียงหัวข้อหยาบๆ
ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้เนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
3.กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางการสอน และช่วย
ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐาน และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอน
บางหน่วย ผู้สอนอาจจะดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียน
4.สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบด้วยของจริง ขิงจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆ
ซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการสอนประเภทอื่นๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
5.การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ นั้นได้กำพหนดวิธีการประเมินไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถ
เลือกมาแนะนำปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น