วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

(สัปดาห์ที่ 5) เทคนิคการเรียนรู้แบบผึ้งเเตกรัง

รูปแบบการเรียนรู้เเบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
          
        การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เเต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถเเตกต่างกัน เเต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างเเท้จริงในการเรียนรู้ เเละในความสำเร็จของกลุ่ม
         โดยที่ในกลุ่มจะมีกลุ่มจะมีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เเบ่งปันทรัพยากร ให้กำลังใจแก่กันเเละกัน คนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงพอเเต่รับผิดชอบต่อผลการเรียนของตนเองเท่านั้น เเต่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จของบุคคล คืือ ความสำเร็จของกลุ่ม

เทคนิคผึ้งเเตกรัง
      เทคนิคผึ้งแตกรังเป็นเทคนิคการสอนในรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกอบวิทย์ พิริยาวัฒน์ ได้กำหนดขั้นตอนในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

         1)ครูเลือกเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ และจัดแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อยๆ
         2) ครูจัดเนื้อหาการเรียนรู้ เอาไว้ที่ตามจุดต่างๆ
         3) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ โดยให้คละเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน อยู่ด้วยกัน
         4) ให้แต่ละกลุ่มวางแผน และมอบหมายงานให้เพื่อนสมาชิก
รับผิดชอบในการศึกษาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆตามหัวข้อที่ได้ทำการแบ่ง
         5) จากนั้นให้ตัวแทนของกลุ่มไป ศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่ครูกำหนดให้
        6)ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มที่ได้หัวข้อเรื่องเดียวกันไปศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและร่วมกันระดมความคิดจัดทำแผนผังความคิดเพื่อนำมาสรุปสาระสำคัญ
        7)จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มกลับไปสู่กลุ่มเดิมและนำเอาแผนผังความคิด สรุปสาระสำคัญมาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
        8)ให้สมาชิกในกลุ่มตั้งคำถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
        9)ให้ทุกกลุ่มระดมความคิดและร่วมกันหาคำตอบกันภายในกลุ่ม เพื่อทบทวนและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
       10.)ให้แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มตนเองไปแลกเปลี่ยนคำถามกับกลุ่มอื่น และระดมความคิดร่วมกันหาคำตอบ

สรุป Mind Map โดยใช้เทคนิคผึ้งเเตกรัง


วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า "การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน" แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการ คือ ครู 
ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ
-คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
-การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้

วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center)
1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
วิธีการสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขั้นตอนการสอนแบบแก้ปัญหา
วิธีสอนแบบแก้ปัญหาสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา
ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ เมื่อกำหนดปัญหาแล้ว
ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจปัญหาที่พบในประเด็นต่างๆ
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน
3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่มีการวางแผน หรือออกแบบวิธีการหาคำตอบจากสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้โดยศึกษาถึงสาเหตุ
ที่เกิดปัญหาขึ้น และใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุ
4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล
ขั้นการเก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ
5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
6.ขั้นสรุปผล

2. วิธีการสอนแบบเเสดงบทบาท(Role Playing)
วิธีการสอนแบบเเสดงบทบาท เป็นการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียน เเสดงบทบาทตามสมมติขึ้นเทียบเคียง
กับสภาพที่เป็นจริงหรือเเสดงออกตามเเนวคิดที่ควรจะเป็น
ขั้นตอนที่สำคัญของการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ มี  5  ขั้นตอน  ในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการสอน ดังนี้
                     1.  ขั้นเตรียมการสอน 
                     2. ขั้นดำเนินการสอน 

3. วิธีการสอนเเบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
วิธีการสอนเเบบวิทยาศาสตร์  เป็นการสอนโดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นโอกาสให้นักเรียน
ได้ค้นพบปัญหาเเละวิธีการแก้ไขด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น

ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นแยกปัญหา
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้

4. วิธีการสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ(Buddist's Method)
ขั้นตอนต่างๆของอริยสัจ 4 คือ ขั้นต่างๆของวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการทางวิทยาศาตร์ Reflective Thiking
ประกอบ ดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)
2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)
3.ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)
4.ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)

5. วิธีการสอนเเบบทดลอง(The Laboratory Method)
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. ขั้นกล่าวนำ
2. ขั้นเตรียมดำเนินการ
3. ขั้นดำเนินการทดลอง
4. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
5. ขั้นเสนอผลการทดลอง
6. วิธีการสอนแบบอภิปราย(Discission Method)
วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันเเละกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง
ระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนกับนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ประสาน
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบอภิปราย
1. ขั้นเตรียมอภิปราย
2. ขั้นดำเนินการอภิปราย
3. ขั้นสรุป

7. วิธีการสอนแบบจุลภาค(Educational Innovation)
วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพเเวดล้อม
ที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยสอนในห้องเรียนเเบบง่ายๆกับนักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 5-15 นาที
ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค
1.จัดให้มีการอธิบายเกี่ยวกับทักษะ ตลอดจนวิธีใช้ทักษะให้ผู้สอนมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
2.ให้ผู้สอนได้เห็นตัวอย่างการสอน ทักษะต่างๆ และฝึกการมองประเด็นสำคัญของแต่ละทักษะ
3.เตรียมบทเรียนที่จะสอน โดยอาศัยจากบทเรียนหรือจะใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อสร้าง
สภาพการณ์จำลองให้ผู้สอนเลือกหาวิธีสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการสอน

8. วิธีการสอนแบบโครงการ(Project Method)
วิธีการสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่มเเละรายบุคคล เป็นการสอนที่สอดคล้องกับ
สภาพชีวิตจริงของนักเรียนเริ่มต้นทำโครงการด้วยการตั้งปัญหา เเละดำเนินการด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

9. วิธีการสอนแบบหน่วย(Unit Teaching Method)
วิธีการสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชาที่มีความสัมพันธ์กันโดยไม่กำหนดขอบเขต
เนื้อหาของวิชา เเต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียน ที่เรียกว่า " หน่วย" เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจ
หรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์
หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
3.ขั้นลงมือทำงาน เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์
4.ขั้นเสนอกิจกรรม ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงาน
5.ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และจุดประสงค์ของหน่วย
โดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว

10. วิธีการสอนเเบบศูนย์การเรียน(Learning Center)
วิธีการสอนเเบบศูนย์การเรียน เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยเเบ่งบทเรียนออกเป็น
4-6 กลุ่ม เเต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมเเตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน เเต่ละกลุ่มจะมีสื่อการ
เรียนที่จัดไว้ในกล่องวางบนโต๊ะ โดยเเต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ เเห่งละ 15-20
นาที จนครบทุกศูนย์
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เเบบศูนย์การเรียน
1.ขั้นเตรียมการ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุปบทเรียน
4.ขั้นประเมินผล

11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนเเบบโปรแกรม
วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนเเบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตาม
ความสามารถของเเต่ละบุคคล โดยเเบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆกรอบ เเต่ละกรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึก
ให้ทำพร้อมเฉลยคำตอบ
ขั้นตอนการสอนของวิธีการสอนโดยใช้บทเรียนเเบบโปรแกรม
1. ผู้สอนศึกษาปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
2. ผู้สอนเลือก แสวงหา หรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องที่ตรงกับปัญหาความต้องการ
หรือความสนใจของผู้เรียน
3. ผู้สอนแนะนำการใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ
4. ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง
5.ผู้เรียนทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมารับการทดสอบจากผู้สอน
12. บทเรียนโมดูล(Module)
บทเรียนโมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตาม
จุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น

13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)
คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการเรียนการสอนที่เป็นเทคโนโนยีระดับสูง ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการวัดกิจกรรม
การเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน

14. การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริม หมายถึง การจัดการเรียนเพิ่มเเก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำเรียนไม่ทันเพื่อน ขาดความคิดรวบยอดหรือการจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่งฉลาดเพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น เเต่ส่วนใหญ่การซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ เรียนในเวลาที่ไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน

15. หมวกแห่งความคิด(The Six Thinking Hats)
ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และเป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบรอบด้าน เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้
              
                   16. การสอนแบบ 4MAT
เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากใยเเมงมุม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
                        ขั้นที่ 1 Why(ทำไม ) เพื่อตั้งคำถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
                        ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
                        ขั้นที่ 3 How (ทำอย่างไร) เป็นการนำไปปฏิบัติ การนำไปใช้
                        ขั้นที่ 4 If (ถ้า...)เป็นการกระตุ้น

               17. แผนการสอนแบบCIPPA
แผนการสอนแบบCIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
               ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
               ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
เป็นการแสวงหาความรู้ข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
              ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หา มาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
              ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความ เข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมกัน
              ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ เรียนรู้ได้ง่าย
              ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงาน
เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและส่งเสริมให้ ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
              ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ
หลัง จากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
              18. วิธีการสอนแบบ storyline
วิธีการสอนแบบstoryline  เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาเเนวคิดจากวิชาต่างๆ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหาเเละกิจกรรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเเละตอบสนองความเเตกต่างของผู้เรียนโดยคำนึงถึงประสบการณ์เเละทักษะเดิมของผู้เรียน
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
         1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ ทักษะและ ประสบการณ์ เพื่อวางแผนในการกำหนดหัวเรื่อง
         2. กำหนดหัวเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ สนใจ ช่วยขยายความรู้ของเด็ก
         3. เตรียมการผูกเรื่องหรือเส้นทางการดำเนินเรื่อง
         4. ตั้งคำถามหลักหรือคำถามสำคัญ ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยงการดำเนินเรื่องในแต่ละตอน เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน หรือเปิดประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์




รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบวนการสืบค้น(Inquiry Process)
-การศึกษาค้นคว้า
-การเรียนรู้กระบวนการ
-การตัดสินใจ
-ความคิดสร้างสรรค์
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery Learning)
-การสังเกต การสืบค้น
-การใช้เหตุผล การอ้างอิง
-การสร้างสมมติฐาน
ศึกษาค้นคว้าข้อความเเละขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนแบบ แก้ปัญหา(Problem-solving)
-การศึกษาแบบค้นคว้า
-การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าข้อมูล
-การลงข้อสรุป
-การแก้ปัญหา
ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด(Concept Mapping)
-การคิด
-การจัดระบบความคิด
จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจน เห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม(Questioning)
-กระบวนการคิด
-การตีความ
-การไตร่ตรอง
-การถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ
เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล(Individual Study)
-การศึกษาค้นคว้าข้อความรู้
-การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
-ความรับผิดชอบ
-การตอบคำถาม
เรียนรู้อิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี(Technilogy-Related Instruction)
-การแก้ปัญหา
-การนำความรู้ไปใช้
-การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนรู้ทันที
-การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
-บทเรียนสำเร็จรูป
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-e-learning
เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเเละความเชี่ยวชาญ
8.การอภิปรายกลุ่มใหญ่(Whole-Class Discussion)
-การแสดงออกความคิดเห็น
-การวิเคราะห์
-การตีความ
-การสื่อความหมาย
-ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-การสรุปความ
มีอิสระในการเเสดงความคิดเห็น มีบทบาทส่วนร่วมในการสร้างข้อความรู้
9.การอภิปรายกลุ่มย่อย(Small-Group Discussion)









9.1เทคคิคคู่คิด(Think Pair-share)



9.2-เทคนิคการระดมพลังสมอง(Brainstorming)


9.3เทคนิค Buzzing



9.4การอภิปรายกลุ่มแบบต่างๆ



9.5กลุ่มติว
-กระบวนการกลุ่ม
-การวางเเผน
-การแก้ปัญหา
-การตัดสินใจ
-ความคิดระดับสูง
-ความคิดสร้างสรรค์
-การแก้ไขข้อขัดเเย้ง
-การสื่อสาร
-การประเมินผลงาน
-การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-การค้นคว้าหาคำตอบ
-การเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การมีส่วนร่วม

-การแสดงความคิดเห็น
-ความคิดสร้างสรรค์


-การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
-การสื่อสาร

-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การสรุปข้อความ

-การฝึกซ้ำ
-การสื่อสาร
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานเเละบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อความรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม




รับผิดชอบการเรียนร่วมกับเพื่อน

เเสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลารวดเร็ว

เเสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาจำกัด


รับฟังความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาจำกัด







ทบทวนจากเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ
-การค้นคว้าหาความรู้
-การรวบรวมข้อมูล
-การแก้ปัญหา
ศึกษาค้นคว้าความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม(Games)
-การคิดวิเคราะห์
-การตัดสินใจ
-การแก้ปัญหา
ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กติกาที่กำหนด ได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมเเละเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้
12.กรณีศึกษา(Case Studies)
-การค้นคว้าหาความรู้
-การอภิปราย
-การวิเคราะห์
-การแก้ปัญหา
ได้ฝึกคิดวิเคราะห์อภปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเเล้วตัดสินใจเลือกเเนวทางการแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง(Simulation)
-การแสดงความคิดเห็น
-ความรู้สึก
-การคิดวิเคราะห์
ได้ทดลองเเสดงพฤติกรรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง
14.ละคร(Dramatization)
-ความรับผิดชอบในบทบาท
-การทำงานร่วมกัน
-การวิเคราะห์
ได้ทดลองเเสดงบทบาทตาที่กำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจคาวมรู้สึกเหตุผลเเละพฤติกรรมผู้อื่น
15.บทบาทสมมติ
-มนุษยสัมพันธ์
-การแก้ปัญหา
-การวิเคราะห์
ได้ลองสวมบทบาทต่างๆเเละศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกเเละพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ(Cooperative Learning) ประกอบด้วยเทคนิคJIGSAW,JIGSAW II,TGT STAD,
GI,NHT,Co-op Co-op
-กระบวนการกลุ่ม
-การสื่อสาร
-ความรับผิดชอบร่วมกัน
-ทักษะทางสังคม
-การแก้ปัญหา
-การคิดแบบหลากหลาย
-การสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน
ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่ม มีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติเเละรับฟังความคิดเห็นของเพื่อสมาชิกกลุ่ม เเละรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเเละเพื่อๆในกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning)
-การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
-การสื่อสารเเละปฏิสัมพันธ์
-กระบวนการกลุ่ม
มีส่วนร่วมในการอภิปรายเเดสงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนเเบบบูรณาการแบบ storyline method
-การค้นคว้าหาความรู้
-การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
-ทักษะทางสังคม
-กระบวนการกลุ่ม
-การสื่อสาร
-การแก้ปัญหา
มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจเเละการคิด ดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนเเละสถานการณ์จริง ศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองทุกเรื่อง ร่วมเเรงร่วมใจด้วยความเต็มใจ

เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                     วิธีการสอน หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆที่เเตกต่างกันออกไปตามองค์ประกอบเเละขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้
                    เทคนิคการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอนหรือการกระทำใดๆทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น
                    เทคนิควิธีการสอนจึงมีความหลากหลาย ได้แก่
1.วิธีการสอนแบบบทบาทสมมติ(Role Playing)
ความหมายของการสอนแบบบทบาทสมมติ
                    วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น
                จุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
ขั้นตอนของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ
                    1.  ขั้นเตรียมการสอน  เป็นการเตรียมใน  2  หัวข้อใหญ่ ได้แก่
                           1.1  เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติให้แน่ชัดและเฉพาะเจาะจงว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างจากการแสดง
                           1.2  เตรียมสถานการณ์สมมติ  เพื่อให้ผู้เรียนฟังโดยให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้  การเตรียมสถานการณ์และบทบาทสมมตินี้อาจเตรียมเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อมอบให้แก่ผู้เรียน  หรือเตรียมเฉพาะสถานการณ์เพื่อเล่าให้ผู้เรียนฟัง  ส่วนรายละเอียดผู้เรียนต้องคิดเอง
                    2. ขั้นดำเนินการสอน  จัดแบ่งย่อยได้  7   ขั้นตอน  ดังนี้
                           2.1  ขั้นนำเข้าสู่การแสดงบทบาทสมมติ  เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม  โดยผู้สอนอาจใช้วิธีโยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน          เล่าเรื่องราว  หรือสถานการณ์สมมติ  ชี้แจงประโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมติ  และการร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา
                           2.2  เลือกผู้แสดง เมื่อผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมแล้วผู้สอนจะจัดตัวผู้แสดงในบทบาทต่าง ๆ  ในการเลือกตัวผู้แสดงนั้นอาจใช้วิธีดังนี้
                                1) เลือกอย่างเจาะจง  เช่น  เลือกผู้ที่มีปัญหาออกมาแสดง  เขาได้รู้สึกในปัญหาและเห็นวิธีแก้ปัญหา
                                2) เลือกผู้ที่มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติ  มีความสามารถเหมาะสมกับบทบาทที่กำหนดให้
                                3) เลือกผู้แสดงโดยให้อาสาสมัคร เพื่อให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียน  การตัดสินใจ
                           2.3  การเตรียมความพร้อมของผู้แสดง  เมื่อเลือกผู้แสดงได้แล้ว  ผู้สอนควรให้เวลา  ผู้แสดงได้เตรียมตัวและตกลงกันก่อนการแสดง  ผู้สอนควรช่วยให้กำลังใจ  ช่วยขจัดความตื่นเต้นประหม่า และความวิตกกังวลต่าง ๆ  เพื่อผู้แสดงได้แสดงอย่างเป็นธรรมชาติ
                           2.4  การจัดฉากการแสดง  การจัดฉากการแสดงอาจจะจัดแบบง่าย ๆ  คำนึงถึงความประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร  เช่น  อาจสมมติโดยการเลื่อนโต๊ะเพียงตัวเดียว  เพราะการจัดฉากนี้เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของการแสดง
                           2.5  การเตรียมผู้สังเกตการณ์  ในขณะที่ผู้แสดงเตรียมตัว  ผู้สอนควรได้ใช้เวลานั้นเตรียมผู้ชมด้วย  โดยควรทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าควรสังเกตอะไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อ            การวิเคราะห์และอภิปรายในภายหลัง  ผู้สอนอาจเตรียมหัวข้อการสังเกต  หรือจัดทำแบบสังเกตการณ์เตรียมไว้ให้พร้อม  แล้วเลือกผู้สังเกตการณ์ช่วยกันดู    และบันทึกพฤติกรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อย ๆ  ไป
                           2.6  การแสดง  เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้วจึงเริ่มแสดง  การแสดงนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ  ผู้สอนและผู้ชมไม่ควรเข้าขัดกลางคัน  นอกจากในกรณีที่ผู้แสดงต้องการ  ความช่วยเหลือ  ในขณะที่แสดงผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมของผู้แสดงและผู้ชมอย่างใกล้ชิด

2.วิธีการสอนโดยใช้กรณีศึกษา(Case Study)
            การสอนแบบกรณีศึกษา หมายถึง กระบวนการสอนที่ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษา หรือตัวอย่างหรือเรื่องราวที่เกิดจากสถานการณ์ใดๆ ซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งอยู่  โดยนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันในการหาแนวทางแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

3.วิธีสอนโดยใช้เกม(Game)
 ความหมายการสอนโดยใช้เกม
         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม คือ เกมการศึกษา เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้  “Play to learning”  
ขั้นตอนสำคัญ
              1.ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้เเจงวิธีการเล่นเเละกติกาการเล่น
              2.ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
              3.ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นเเละวิธีการเล่นหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
             4.ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

4.วิธีการสอนแบบสถานการณ์จำลอง(Simulation)
ความหมายวิธีการสอนแบบสถานการณ์จำลอง
                            สรุปได้ว่า  การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยผู้สอนจัดสถานการณ์ขึ้นเลียนแบบของจริง โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการแก้ปัญหา ได้ใช้ทักษะกระบวนการคิดและการตัดสินใจจากสถานการณ์นั้นๆ  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทบาทหรือในสถานการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุด
       ขั้นตอนของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
                        1) การเตรียมการ
                        2) การนำเสนอสถานการณ์จำลอง
                        3) การเลือกบทบาท
                        4) การเล่นในสถานการณ์จำลอง
                        5) การอภิปราย
5.วิธีสอนโดยการใช้นิรนัย(Deduction)
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้นโดยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ กฎ เเละข้อสรุปใรเรื่องที่เรียน เเล้วจึงยกตัวอย่างหลายๆตัวอย่างหรืออาจให้ผู้เรียนนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบนิรนัย
        1. ขั้นอธิบายปัญหาเป็นขั้นของการกำหนดปัญหาและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะ
หาคำตอบในการแก้ปัญหา
        2. ขั้นอธิบายกฎหรือหลักการเพื่อการแก้ปัญหา เป็นการนำเอาข้อสรุป กฎเกณฑ์ หลักการ
มาอธิบายให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
       3. ขั้นตัดสินใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกกฎ หรือหลักการ หรือข้อสรุปมาใช้ในการแก้ปัญหา
       4. ขั้นพิสูจน์หรือตรวจสอบ เป็นขั้นการนำหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามหลักการนั้นๆ
      5. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
      6. ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

6.วิธีการสอนโดยการใช้อุปนัย(Induction)
             เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้นโดยการนำตัวอย่าง ข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ สถานการณ์ ปรากฏการณ์ ที่มีหลักการ เเนวคิด ที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียน มาให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์ จนสามารถดึงหลักการ เเนวคิดที่แฝงอยู่ออกมาหรือเป็นการสอนรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ นั่นคือ นักเรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อนแล้วจึงสรุป
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
          1. ขั้นเตรียมนักเรียน เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
ด้วยการทบทวนความรู้เดิม กำหนดจุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
          2. ขั้นเสนอตัวอย่างหรือกรณีศึกษาต่างๆ ให้นักเรียนพิจารณาเปรียบเทียบและสรุปกฎเกณฑ์การเสนอตัวอย่างควรเสนอหลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้
          3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจากตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์
          4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ ด้วยตัวนักเรียนเอง
          5. ขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์อื่น

7.วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการแสดงหรือทำสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตดู แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตการสาธิต
ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอนโดยการใช้อุปนัย
            1. ผู้สอนแสดงการสาธิต ผู้เรียนสังเกตการสาธิต
           2. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต

8.เทคนิคการใช้คำถาม
การใช้คำถามเป็นศาสตร์เเละศิลป์ คือ ต้องมีการศึกษาลักษณะของคำถามเเละครูต้องใช้ศิลปะในการถาม ดังนั้นครูจึงต้องมีการฝึกฝนการใช้คำถาม
           การใช้คำถาม หมายถึง  การใช้ประเภทของคำถามเป็นและรู้จักลักษณะการถามที่ดี  การใช้ประเภทของคำถามทั้งคำถามง่ายและคำถามยาก  หรือทั้งคำถามแคบและคำถามกว้าง  หรือทั้งคำถามระดับต่ำและคำถามระดับสูง
         
                     
เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
             เทคนิคการใช้ผังกราฟิก เป็นเทคนิคที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการจัดโครงสร้างความคิดล่วงหน้าตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning theory) ของเดวิด อูซูเบล (David P. Ausubel) นักจิตวิทยาอเมริกัน ที่เสนอการจัดโครงสร้างความคิด หรือโครงสร้าง ภาพรวมล่วงหน้า (presenting first) เพื่อใช้สำหรับอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาจากตำรา
เทคนิคการใช้ผังกราฟิกที่ใช้อย่างเเเพร่หลาย ดังนี้
                      1.ผังความคิด(A Mind Map)
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง 
ตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังความคิด(A Mind Map)

                       2.ผังมโนทัศน์(A Concept map)
 แผนผังมโนทัศน์  หมายถึง  ความคิดความเข้าใจที่ได้รับมาจากการสังเกต หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  นำมาจัดประเภทของข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันไว้ในกลุ่มหรือประเภทเดียวกันโดยอาศัยคุณลักษณะร่วมกัน เป็นเกณฑ์  
ตัวอย่างแผนผังมโนทัศน์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผัง มโน ทัศน์ concept mapping

               3.ผังเเมงมุม(A Spider Map)
ตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังแมงมุม(A Spider Map)
              4.ผังก้างปลา(A Fishbone Map)
แผนผังก้างปลาหรือเรียกเป็นทางการว่า แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)
 แผนผังสาเหตุและผลเป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น 
ตัวอย่างผังก้างปลา 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังก้างปลา(A Fishbone Map)
5.เทคนิคตระกูล K
                        1.KWL
 เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน   ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่างรู้ตังว่าตนคิดอะไร   มีวิธีคิดอย่างไร   สามารถตรวจสอบความคิดของตนเองได้   และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนเองได้   โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการทำความเข้าใจตนเอง   มีการวางแผน   ตั้งจุดมุ่งหมาย   ตรวจสอบความเข้าใจของตน      มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
                                การจัดการเรียนรู้แบบ  KWL  มีขั้นตอนสำคัญ   ดังต่อไปนี้
                1.   ขั้น   K   ( Know)
                 เป็นขั้นของการเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนอ่าน   ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเรียนรู้ เป็นแผนผังความคิดด้วยตนเอง
                2.   ขั้น  W   (Want   to   know)
                         2.1    การตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านหลังจากที่ผู้สอนกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนในขั้น   K แล้วผู้สอนจะนำผู้เรียนไปสู่ขั้นการตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   โดยการอ่านซึ่งผู้สอนจะใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียน
                         2.2 ผู้เรียนเขียนคำถาม ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนคำถามที่ตนมีลงในกระดาษให้มากที่สุด
                         2.3  ผู้เรียนหาคำตอบ ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านข้อความที่ผู้สอนเตรียมไว้   โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามหาคำตอบในสิ่งที่ตนตั้งคำถามไว้แล้วนั้น   ในขั้นนี้ผู้สอนอาจดัดแปลงจากการอ่าน   เป็นการใช้วิธีบรรยายหรือดูวีดิทัศน์ก็ได้ และจะเป็นการเน้นทักษะการฟังแทนการอ่าน
                 3.    ขั้น   L   (  Learned)
หลังจากที่ผู้เรียนอ่านข้อความแล้ว   ให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ได้ลงในกระดาษเปล่า    รวมทั้งเขียนข้อมูลอื่น  ๆ   ที่ศึกษาเพิ่มเติมได้   แต่ไม่ได้ตั้งคำถามไว้การบันทึกข้อมูลตามกิจกรรมในขั้น   K   W   และ   L   นั้นผู้สอนควรให้ผู้เรียนบันทึกโดยใช้ตาราง   3   ช่องดังตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ KWL

                   4.    ขั้นการเขียนสรุปและนำเสนอ
กิจกรรมในขั้นนี้เป็นกิจกรรมเพิ่มเติมในขั้นตอนหลัก   KWL   หลังจากผู้เรียน ได้เรียนรู้และเขียนข้อมูลความรู้ที่ได้ในขั้น  W และ  L แล้ว   ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนผังความคิดเดิมที่ผู้เรียนเขียนไว้ในขั้น K ซึ่งอาจจะมีการตัดทอนเพิ่มเติม หรือจัดระบบข้อมูลใหม่ เพื่อให้ผังความคิดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   หรืออาจมีกิจกรรมอื่น ที่ผู้สอนเห็นว่าเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น มีการอภิปรายถึงเหตุและผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือให้ผู้เรียนนำเสนอแผนผังความคิด  เป็นต้น
                      2.KWL plus
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus
                   ขั้น K (What do I know)
ขั้นตอนนี้ก่อนที่นักเรียนจะอ่านเรื่อง ครูอธิบายความคิดรวบยอดของเรื่องและกำหนดคำถามโดยครูกระตุ้นหรือถามให้นักเรียนได้ระดมสมอง (Brainstorms) เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วและนำข้อมูลที่ได้มาจำแนก แล้วเขียนคำตอบของนักเรียนในแผนภูมิรูปภาพช่อง K (What do I know) หลังจากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันจัดประเภทความรู้ที่คาดการณ์ว่าอาจเกิดขึ้นในเรื่องที่จะอ่าน
                  ขั้น W (Want to learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนค้นหาความจริงจากคำถามในสิ่งที่สนใจอยากรู้ หรือคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเรื่อง พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนรายการคำถามที่ตั้งไว้ ในระหว่างอ่านนักเรียน ขั้น                     ขั้น L1 (What did I learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างการอ่านและหลังการอ่าน ลงในช่อง L (What did I learn) พร้อมทั้งตรวจสอบคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ
                ขั้น L2 (Mapping)
นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จัดประเภทไว้ในขั้นตอน K(What do I know) เขียนชื่อเรื่องไว้ในตำแหน่งตรงกลางและเขียนองค์ประกอบหลักของแต่ละหัวข้อ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น
                ขั้น L3 (Summarizing)
ขั้นตอนนี้นักเรียนช่วยกันสรุปและเขียนสรุปความคิดรวบยอดจากแผนภูมิความคิดซึ่งการเขียนในขั้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียนในการประเมินความเข้าใจของนักเรียน

                          3.KWDL
การสอนแบบเทคนิค KWDLได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle (1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้ แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด 
             ขั้นตอนการเรียนการสอน
       ขั้นที่ 1 K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
       ขั้นที่ 2 W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
       ขั้นที่ 3 D(What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
       ขั้นที่ 4 L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ต่อมา ซอและคณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
            
                  4.KWLH
เทคนิค KWLH หมายถึง การใช้กระบวนการคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโดยเน้นการใช้ความรู้เดิมของผู้อ่านในการตีความ ทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน และเพื่อความเข้าใจตรงจุดประสงค์ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมก่อนอ่าน กิจกรรมระหว่างอ่าน และกิจกรรมหลังอ่าน
กระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
          1.ขั้น K
K หมายถึง "What You Know"เป็นการตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่ามีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เป็นการนำความรู้เดิมมาใช้เพราะการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ การเตรียมการเรียนรู้เนื้อหาใหม่
          2.ขั้น W
W หมายถึง "What You Want to Know" เป็นการถามตนเองว่าต้องการเรียนรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่จะอ่านบ้าง เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรจากบทอ่านบ้างช่วยให้นักเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่าน และสร้างแรงจูงใจในการอ่านด้วย
         3.ขั้น L
L หมายถึง "What YouLearned" เป็นขั้นตอนการสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน ได้รับความรู้ใหม่หรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ เป็นการหาคำตอบสำหรับคำถามที่นักเรียนตั้งไว้ในขั้นของ "W"เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ และจัดระบบความรู้ ความคิด ฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านอย่างถูกต้อง
         4.ขั้น H
H หมายถึง "How You Can Learn More" เป็นการถามตนเองว่าต้องการจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมอีกได้อย่างไร เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหรือค้นหาว่านักเรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างไรเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่อ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการขยายความรู้ความคิดให้กว้างและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

6.เทคนิคการสอนการคิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพเเบบ PWIM (Picture Word Inductive Model)
ลักษณะสำคัญ คือ ใช้รูปภาพที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เเละวัยของผู้เรียนเป็นสื่อที่นำไปสู่ การรู้คำศัพท์ วลี ประโยค ข้อความ จนถึงการอ่านเเละการเขียนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีการฝึกซ้ำๆ เป็นปริมาณมากๆ เเละสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด เเละหลักการด้วยตนเองด้วยวิธีคิดแบบอุปยันเเละที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากตัวผู้เรียน
ตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเติมคำศัพท์จากภาพ ภาษาอังกฤษ


การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.ความหมายของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
                พิมพันธ์ เดชะคุปต์(2550)การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี 
                อาภรณ์  ใจเที่ยง ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
2.หลักการพื้นฐานของเเนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
           มีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ 
            -การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
            -การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 
3.องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
             1. การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญโดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัย หมายถึงการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือคุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
                   1) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นการคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
                   2) การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
                   3) การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
                  4) การจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน
                  5) การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู้เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก
             2. การจัดการเรียนรู้
 ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
            (1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
            (2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
            (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
            (4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
            (5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
            (6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
            (7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
            (8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
            (9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
            (10) การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
            (11) ความเข้าใจผู้เรียน
            (12) ภูมิหลังของผู้เรียน
            (13) การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
            (14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระเทคนิค และ วิธีการ
            (15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
            (16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
               3. การเรียนรู้ของผู้เรียน
                         องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย
         1)  การเรียนรู้อย่างมีความสุข อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คำนึงถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของการเอื้ออาทรและเป็นมิตรตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
        2)  การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือ“เรียนด้วยสมองและสองมือ” เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์หรือคำถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สำคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล
        3)  การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป้าหมาย
สำคัญด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นเอกสารวัสดุสถานที่ สถานประกอบการบุคคลซึ่งประกอบด้วย เพื่อน กลุ่มเพื่อนหรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน
        4)  การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ได้สัดส่วนกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้
        5)  การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจ
ของผู้สอนที่ยึดหลักการว่าทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สำคัญคือพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนจึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเองผู้เรียนจะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิความมีวินัยในตนเอง และการรู้จักตนเองมากขึ้น

 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
                  ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
                 ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา(cognitive apparatus) ของตน
                ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
2. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น 
องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ด้วยการทำงานร่วมกัน
           1.  การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน ต้องมีทัศนคติที่ดีในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Positive Interdependence)  ผู้เรียนต้องมีความตระหนักว่าทุกคนต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คนใดคนหนึ่งไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้คนเดียว ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความช่วยเหลือซึ่งกันละกันภายในกลุ่ม
           2.มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน (Face to Face Interaction)  ผู้เรียนต้องทำงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน ฉะนั้นผู้เรียนควรมีการแบ่งปันข้อมูล การสนับสนุนช่วยเหลือกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และกระตุ้นการทำงานร่วมกัน ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ จะเป็นการพูดคุยถกเถียงการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการตรวจสอบความเข้าใจ   การเรียนรู้ทั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
          3.การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน
          4.การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing) สมาชิกในกลุ่มต้องมีการอภิปรายถกเถียงกันถึงความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
          5.การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (Individual Accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก
 3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
             ความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มา
ไปใช้ในการดำเนินชีวิต 

 แนวคิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

        แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือว่าเป็นความพยายามที่จะทำการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญ ซึ่งดำเนินการจัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการ ครูอาจารย์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชน องค์กร และสถาบันต่างๆ มีการศึกษาปัญหา ประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีการระดมผู้รู้ นักปราชญ์มาช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างเป้าหมายของการศึกษาไทย

          คำนิยามตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

มาตรา 4 

           “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
         “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
         “สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         “มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
         “การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
          “การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
          “ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
          “ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
          “คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
          “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
          “ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
          “บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
          “กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ
          “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขหรือแก้ปัญหาทางการศึกษาและถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา
สรุปหลักการสำคัญได้ 7 ด้าน ดังนี้
            1. ด้านความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 10 วรรค 1 
 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี โดยที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย

มาตรา 8 (1) 
การจัดการศึกษาให้ยึดหลักว่าเป็น การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

             2. ด้านมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
มาตรา 9 (3) 
กำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา

มาตรา 47
กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก

              3. ด้านระบบบริหารและการสนับสนุนทางการศึกษา 
มาตรา 9 (2)
การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
            (1) มีเอกภาพด้านนโยบายและหลากหลายในการปฏิบัติ
            (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            (3) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้จัดการศึกษา
            (4) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ

มาตรา 43
การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน ให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตามการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับการศึกษาของรัฐ

              4. ด้านครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 
มาตรา 9 (4) 
มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

มาตรา 52
ให้กระทรวงฯ ส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกำกับและประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ

                5. ด้านหลักสูตร 
มาตรา 8 (3)
การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

มาตรา 27 
ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา 28
หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง และด้านการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาทางสังคม

มาตรา 24 (1) 
จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

              6. ด้านกระบวนการเรียนรู้
มาตรา 22 
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 24
การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
           (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
           (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
           (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
           (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
           (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
           (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรา 25 
รัฐต้องเร่งส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา 26 
ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา

มาตรา 8 (1) (3) 
การจัดการศึกษายึดหลัก ดังนี้
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 (2) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

             7. ด้านทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา 9 (5) 
การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลัก ดังนี้ (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา

มาตรา 58
ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศ มาใช้ในการจัดการศึกษา

มาตรา 60
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา ในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อความมั่นคงยั่งยืนของประเทศ โดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษา

จากหลักการสำคัญข้างต้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
         1. ด้านหลักสูตร กล่าวถึงการปฏิรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหาสาระทั้งที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความเป็นมนุษย์ และให้มีการบูรณาการเนื้อหาหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ได้แก่
                  1.1 เนื้อหาเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม
                  1.2 เนื้อหาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย
                  1.3 เนื้อหาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
                  1.4 เนื้อหาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

          2. ด้านกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังข้อมูลที่ระบุไว้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาที่สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2543) ได้สรุปถึงลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้ในสาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไว้ดังนี้
                  2.1 มีการจัดเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน
                  2.2 ให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์และฝึกนิสัยรักการอ่าน
                  2.3 จัดให้มีการฝึกทักษะกระบวนการและการจัดการ
                  2.4 มีการผสมผสานเนื้อหาสาระด้านต่างๆ อย่างสมดุล
                  2.5 จัดการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และรอบรู้
                  2.6 จัดให้มีการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ด้วย

            3. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียนหลายวิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม การเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสแสดงผลการเรียนรู้ได้หลายแบบ ไม่เพียงแต่ความสามารถทางผลสัมฤทธิ์การเรียนซึ่งวัดได้โดยแบบทดสอบเท่านั้น การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้แบบนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอันเกิดจากผลการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้กล่าวในตอนต่อไป

           การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ครู และผู้เรียน ทิศนา แขมมณี (2544) ได้กล่าวไว้ดังนี้
         1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้ ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
         2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
         3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกัน อาจคิดได้หลายแง่ หลายมุมทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคมยอมรับด้วย ดังนั้นครูที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ
         4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้ เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง
         5. การ เรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ
        6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย

          ครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

                (1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
                (2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
                (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
                (4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
                (5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
                (6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
                (7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
                (8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
                (9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
                (10) การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
                (11) ความเข้าใจผู้เรียน
                (12) ภูมิหลังของผู้เรียน
                (13) การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
                (14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ
                (15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
                (16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

             การเรียนรู้ของผู้เรียน องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้
    ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย
             1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คำนึงถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของการเอื้ออาทรและเป็นมิตร ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

             2. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือ “เรียนด้วยสมองและสองมือ” เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์หรือคำถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สำคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล

             3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป้าหมายสำคัญด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ สถานประกอบการ บุคคลซึ่งประกอบด้วย เพื่อน กลุ่มเพื่อน วิทยากร หรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน

            4. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ได้สัดส่วนกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้

            5. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจของผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญว่า ทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สำคัญคือ พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้จัดการเรียนรู้จึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่าถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนการเรียน รู้ด้วยตนเอง การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนจะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิ ความมีวินัยในตนเอง และการรู้จักตนเองมากขึ้น

          เมื่อครูจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลแล้ว และมีความประสงค์จะตรวจสอบว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ ครูสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านกระบวนการ มาตรฐานที่ 18 ซึ่งมีตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
          1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการของผู้เรียน
         2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ
         3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
         4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
         5. มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน
         6. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วน ทั้งด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา
         7. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความรับผิดชอบต่อกลุ่มร่วมกัน
         8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลายและต่อเนื่อง
         9. มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปเรียน
สรุปว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตามกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

(สัปดาห์ที่ 7)โมเดล

โมเดลที่ 1 สภาพเเวดล้อมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ             สภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning Environment)  หมายถึง สภาวะใดๆ ที่ม...